Custom Search
##=================================================================## ##=================================================================##

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551

หลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เริ่มจากผู้ใช้จะทำการป้อนข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล(InputDevices) ซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งที่รับเข้ามาจะถูกนำไปตีความ และประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ที่หน่วยความจำแรม พร้อมกับแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล(OutputDevices)

ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนประมวลผลกลาง หน่วยความจำ อุปกรณ์รับข้อมูล และอุปกรณ์แสดงผลซึ่งแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้

หน่วยประมวลผลกลาง

หรือซีพียู เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล และควบคุมการทำงานของระบบ เปรียบเสมือนกับสมองของคนที่ทำหน้าที่ในการคิด คำนวณ และคอยควบคุมการทำงานทุกส่วนของร่างกาย ซีพียูก็เช่นเดียวกันมันจะทำหน้าที่คิดคำนวณ และควบคุมการทำงานทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ

หน่วยความจำ ( Memory )

หน่วยความจำ เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆมีทั้งแบบที่ใช้เก็บข้อมูลแบบถาวรและแบบที่ใช้เก็บข้อมูลแบบชั่วคราวหน่วยความจำเป็นส่วนที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ถ้าไม่มีหน่วยความจำเราก็คงไม่สามารถบันทึกข้อมูลใดๆไว้ได้เลย เราแบ่งหน่วยความจำออกเป็น 2 ประเภท คือ

===> หน่วยความจำหลัก คือหน่วยความจำหลัก เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ร่วมกับซีพียู โดยจะเป็นที่สำหรับเก็บข้อมูลสำคัญๆสำหรับซีพียู มีทั้งที่เก็บข้อมูลแบบถาวรและชั่วคราว ซึ่งได้แก่ หน่วยความจำรอม (ROM) และหน่วยความจำแรม (RAM) ตามลำดับ

----------> หน่วยความจำรอม (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำชนิดที่อ่านได้อย่างเดียว ใช้เก็บข้อมูลแบบถาวร และไม่ต้องการพลังงานไฟฟ้าในการหล่อเลี้ยงเราใช้หน่วยความจำชนิดนี้ในการเก็บโปรแกรมควบคุมการทำงานของระบบที่เรียกว่า ไบออส (BIOS : Basic Input Output System)

----------> หน่วยความจำแรม (RAM:RanddomAccessMemory) เป็นหน่วยความจำชนิดที่ต้องการพลังงานไฟฟ้าในการทำงานข้อมูลภายในแรมจะสูญหายทันทีที่มีการดับเครื่อง แรมจะทำงานร่วมกับซีพียูโดยซีพียูจะใช้แรมเป็นที่เก็บข้อมูลที่จะเป็นต่อการประมวลผลในขณะนั้นซึ่งจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลแบบชั่วคราวเท่านั้นคอมพิวเตอร์เครื่องใดที่มีแรมมากๆก็จะทำให้เครื่องนั้นทำงานได้เร็วขึ้น

===> หน่วยความจำสำรอง คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกข้อมูล และโปรแกรมต่างๆแบบถาวรได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ แผ่นซีดีรอม ฯลฯ โดยถ้าเป็นข้อมูลที่มีขนาดเล็ก และต้องการเคลื่อนย้ายไฟล์ไปที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆก็ใช้ฟล็อปปี้ดิสก์ แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากๆก็จะเก็บลงในฮาร์ดดิสก์ หรือแผ่นซีดีรอมซึ่งข้อมูลที่เก็บในฟล็อปปี้ดิสก์ หรือฮาร์ดดิสก์ เราสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข และบันทึกลงไปใหม่ได้ส่วนแผ่นซีดีรอมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้


อุปกรณ์รับข้อมูล
อุปกรณ์รับข้อมูล เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แล้วนำไปประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูลที่ว่านี้ ได้แก่ เมาส์ คีย์บอร์ด ฟล็อปปี้ดิสก์ สแกนเนอร์ เป็นต้น

อุปกรณ์แสดงผล
อุปกรณ์แสดงผล เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูไปแสดงผลอุปกรณ์แสดงผลที่ว่านี้ได้แก่จอภาพพริ้นเตอร์ลำโพงเป็นต้น


ประเภทของ Computer

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551

. . . . คอมพิวเตอร์ที่เราๆท่านๆเห็นกันจนชินตานั้นส่วนใหญ่จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า พีซี แต่ที่จริงแล้วยังมีคอมพิวเตอร์อีกมากมายหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทก็เหมาะสำหรับงานแตกต่างกันออกไปสำหรับรายละเอียดนั้นมีดังนี้

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นใหญ่ที่สุดที่มีพลังการประมวลผลเร็วที่สุดและสามารถ รองรับการคำนวณที่สลับซับซ้อน และมีปริมาณมหาศาลได้สบายส่วนใหญ่แล้วองค์กรที่ใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์มักจะเป็นองค์กรรัฐบาลหน่วยงานทางทหาร มหาวิทยาลัย หรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ราคาสูงมากนั่นเอง สำหรับหน้าตาของซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ก็มีหลากหลายแบบบางรุ่นก็มีลักษณะกระบอกสูงท่วมหัวบางยี่ห้อก็มีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ส่วนยี่ห้อที่โด่งดังที่สุดก็คือCray

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ก็จัดว่าเป็นเครื่องรุ่นใหญ่เหมือนกัน แต่เมนเฟรมใช้กันแพร่หลายกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เนื่องจากมีราคาต่ำกว่าและสามารถรองรับงานหนักของธุรกิจได้เป็นอย่างดี องค์กรที่ใช้เมนเฟรมจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาลเป็นต้น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ผลิตเมนเฟรมเอง ปัจจุบันเมนเฟรมเสื่อมความนิยมลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีราคาแพง และมีคอมพิวเตอร์อย่างอื่นที่สามารถเข้ามารองรับงานได้เช่นกัน จุดอ่อนอีกอย่างของเมนเฟรมก็คือจะต้องซื้ออุปกรณ์และซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตนั้นเพียงบริษัทเดียว

มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
คอมพิวเตอร์ประเภทนี้จัดอยู่ในรุ่นกลาง ซึ่งได้รับความนิยมมากอยู่พอสมควร เนื่องจากมีราคาถูกกว่าเมนเฟรมและสามารถรองรับงานธุรกิจได้ดีระดับหนึ่งส่วนใหญ่แล้วมินิคอมพิวเตอร์จะใช้ Unix เป็นระบบ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ประเภทนี้พบมากในองค์กรตั้งแต่ขนาดกลางขึ้นไป



ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก ที่เรามักจะเรียกว่า"คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครื่องพีซี"(Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องส่วนตัวหรือใช้เป็นเครื่องลูก(Client)ในเครือข่ายซึ่งในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงมากเราสามารถแบ่งเครื่องในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้

Desktop Computer
เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานตามบ้าน และสำนักงานเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง ราคาไม่แพง และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง






โน้ตบุคคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถเหมือนกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แต่ถูกย่อให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้สะดวกเหาะที่จะนำติดตัวไปใช้งานตามสถานที่ต่างๆได้






พ็อกเก็ตพีซี (Pocket PC )
เป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาเช่นเดียวกับโน้ตบุ๊คสามารถใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะแต่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่ามาก เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องเดินทางไกลบ่อยๆ






ปาล์ม (Palm)
เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยม เป็นเครื่องประเภท Organizer ที่ใช้เป็นสมุดบันทึกประจำวัน กำหนดการ รับส่งเมล เป็นต้น สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวกเนื่องจากตัวเครื่องมีขนาดเล็กมาก

แท็บเลต พีซี (Tablet PC)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่กำลังทยอยออกสู่ตลาด ใช้จดบันทึกข้อความ ตารางนัดหมาย เก็บเบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ จุดเด่นที่สำคัญของเครื่อง Tablet PC ก็คือ สามารถจดบันทึกข้อความลงไปบนหน้าจอได้เลย ง่ายต่อการจดบันทึก

CPU

ชนิดของ CPU ในปัจจุบัน

-------> 80486 เป็น CPU ที่บางท่านยังอาจจะมีใช้งานอยู่ โดยทั่วไปที่พบจะเป็น 486SX, 486DX และ 486DX4

-------> Pentium Classic หรือ P54C จะมีความเร็วประมาณ 100-166 MHz ถือว่ายังพอใช้งานได้อยู่ในปัจจุบัน แต่อาจจะช้าไปสักหน่อย


-------> Pentium MMX หรือ P55C จะมีชุดคำสั่ง MMX ติดมาด้วย ความเร็วตั้งแต่ 166-233 MHz

-------> AMD K5 และ AMD K6 เป็น CPU ของ AMD รุ่นแรก ๆ ที่พอมีขายในบ้านเรา ความเร็วประมาณ 166-300 MHz

-------> AMD K6-II และ AMD K6-III ปัจจุบันยังถือว่าใช้งานได้ดีอยู่ ความเร็ว 266-550 MHz


-------> IBM และ Cyrix MII ไม่ค่อยได้ยินชื่อนัก แต่พอมีขายอยู่บ้าง ความเร็วประมาณ PR200-PR333 (หน่วย PR ไม่ใช่ MHz นะครับแต่ถือว่าใกล้เคียงกัน)

-------> Intel Celeron รุ่นแรก ๆ จะเป็น Slot 1 ความเร็ว 266-300 MHz และต่อมาเป็น Socket 370 ความเร็วที่ 300 MHz ขึ้นไป (ปัจจุบันเท่าที่ได้ยินจะมีความเร็วถึง 700 MHz แล้ว)

-------> Intel Pentium II เป็น CPU แบบ Slot 1 รุ่นแรกครับ ความเร็ว 233-450 MHz

-------> Intel Pentium III รุ่นแรก ๆ จะเป็น Slot 1 ความเร็ว 450-600 MHz รุ่นหลัง ๆ จะเป็นแบบ FC-PGA 370 ความเร็วเริ่มที่ 500 เป็นต้นไป (จะมีรหัสต่อท้ายด้วย EB, E คือ CPU แบบ FC-PGA ส่วน B คือรุ่นที่รันด้วยบัส 133 MHz)

-------> AMD Athlon เป็น CPU ของ AMD ทำงานบน Slot A ครับที่เห็นความเร็วก็ 500 MHz ขึ้นไป

AMD Duron เป็น CPU ของ AMD ทำงานบน Socket A ความเร็วตั้งแต่ 600 MHz ขึ้นไป

-------> AMD Thunderbird เป็น CPU ของ AMD ทำงานบน Socket A ความเร็วตั้งแต่ 700 MHz ขึ้นไป

-------> Pentium IV เป็นรุ่นใหม่ของ Intel ทำงานบน FC-PGA 423 ความเร็วตั้งแต่ 1.3 GHz ขึ้นไป

ChipSet

>>>>หน้าที่การทำงานของ ChipSet
1.ให้การสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานของโปรเซสเซอร์แต่ละชนิด

2.ให้การสนับสนุนความเร็วในการทำงานของโปรเซสเซอร์

3.สนับสนุนการทำงานของโปรเซสเซอร์หลายตัว(Multi-Processor)

4.ให้การสนับสนุนการทำงานของ Cache Memory

5.ให้การสนับสนุนหน่วยความจำ DRAM
-สนับสนุนติดตั้ง DRAM ขนาดสูงสุด
-สนับสนุนเทคโนโลยีต่างๆของ DRAM
-สนับสนุนการตรวจ Parityหรือแก้ไขความผิดพลาดด้วย ECC
-ควบคุมจังหวะการทำงานและการใหลของข้อมูลข่าวสารของหน่วยความจำ
-ให้บริการถอดระหัส Chipset สามารถถอดระหัสที่เป็น Address มาจากโปรเซสเซอร์ จากนั้นก็จะเปลี่ยน เป็นสัญญาณควบคุมไปยังอุปกรณ์หน่วยความจำ หรือ I/O เพื่อเลือกใช้มัน ให้สอดคล้องกับความต้องการของโปรเซสเซอร์
-ควบคุมจังหวะการทำงานของหน่วยความจำ ChipSet ที่ดีจะต้องลดเวลารอคอยในการส่งถ่ายข้อมูลระหว่าง โปรเซสเซอร์ กับ DRAM
-ความสามารถในการตรวจสอบว่า เป็นหน่วยความจำชนิดอะไร ความเร็ว Bus เท่าใด

6.ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ Peripheral และควบคุมการทำงานของ I/O Bus
-สนับสนุนชนิดของ I/O Bus เช่น ISA Bus หรือ
PCI Bus
-ควบคุมการทำงานของ IDE/ATA Hard Disk
Controller
-ควบคุมการทำงานของระบบ Interrupt
-สนับสนุน USB
-สนับสนุนระบบ AGP
-สนับสนุน Plug and Play
-สนับสนุน การบริหารจัดการ พลังงานคอมพิวเตอร์ (Power menagement)

USB

>>>> USB(Universal Serial Bus)

• เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ I/O ภายนอก สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ PC อุปกรณ์ที่ทำงานภายใต้USB มีความเร็วต่ำขนาด 1.5Mb/s ,ความเร็วสูงที่ 12Mb/s (มาตรฐาน1.1 )และ 480 Mbps
(มาตรฐาน2.0)

• อุปกรณ์ที่ทำงานความเร็วสูงได้แก่ Zip Drive Scanner Printer

• อุปกรณ์ที่ทำงานความเร็วต่ำได้แก่ Keyboard Mouse Joystrick

ข้อดีของ USB

•ราคาประหยัด USB ช่วยให้เราประหยัดในการติดตั้งอุปกรณ์ I/O รอบข้างกับ PC

•Hot Plug เราสามารถติดตั้ง อุปกรณ์ USB ทันทีโดยไม่ต้องปิดเครื่อง

•ใช้ Connector แบบเดี่ยว

•อุปกรณ์I/Oที่เชื่อมต่อภายนอก สามารถรับแรงดัน
•ไฟเลี้ยงอุปกรณ์จากสายCable USBโดยเฉพาะแรงไฟขนาด 5VDC

•สามารถสนับสนุนอุปกรณ์ความเร็วต่ำและความเร็วสูง

•สามารถรองรับอุปกรณ์ได้มาถึง 127 อุปกรณ์ ต่อ USB Connector1 ช่องเสียบ

•มีระบบตรวจสอบและแก้ไขความผิดพลาดในการส่งถ่ายข้อมูล เช่น

•ในกรณีที่ ตรวจสอบพบความผิดพลาดระหว่างการส่งถ่ายข้อมูล ก็พยายามที่จะรับส่งข้อมูลกันใหม่

•ประหยัด พลังงาน อุปกรณ์ USB จะเข้าสู่การหยุดทำงานชั่วคราวหากไม่มีการทำงานใดๆเกิดขึ้นบนระบบ BUS หลังจากเวลา 3 ms ผ่านไป และขณะที่อยู่ในห้วงของการหยุดการทำงานชั่วคราวจะกินไฟเพียง 500 ไมโครแอมป์

AGP Slot

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551

>>>> AGP (Accelerted Grpahics Port)

เป็น Interface ที่เกี่ยวกับการแสดงผลที่มีประสิทธิภาพสูง ในการแสดงภาพแบบ 3D รวมทั้งภาพยนต์
Video ที่แสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์


•Bus ของ AGP มีขนาด 32 บิต และวิ่งด้วยความเร็วเต็มที่


•AGP 1x Mode สามารถถ่ายเทข้อมูลที่ความเร็ว 254.3 MB/Sec


•AGP 2x Mode สามารถถ่ายเทข้อมูลที่ความเร็ว 508.6 MB/Sec

•AGP 4x Mode สามารถถ่ายเทข้อมูลที่ความเร็ว 1071 MB/Sec







Expansion Slot

>>>>I/O Expansion Slot บน Motherboard

ISA Slot
มีทั้งแบบ 8,16 Bit ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 7.9-8.33 MHz ส่งถ่ายข้อมูล 4.5 MB ต่อวินาที

PCI Slot(Peripheral Interconnection)
มีความเร็ว 2 แบบ คือ

- มาตรฐาน 2.0 ทำงานที่ความเร็ว 30-33 MHz

- มาตรฐาน 2.1 ทำงานที่ความเร็ว 66 MHz


•สามารถรองรับ PCI ได้ 5 Slot รองรับการทำงาน PCI แบบ Bus Master เช่น SCSI Lan Card

•สามารถถ่ายเทข้อมูลแบบ Burst Mode (คือการถ่ายเทข้อมูลเป็นกลุ่มก้อนและต่อเนื่อง สามารถเกิดขึ้นทุกรอบของสัญญาณนาฬิกา)

•PCI Bus มี 2 แบบ คือ ใช้แรงดันไฟ 3.3,+5v

•ใช้เทคนิคการทำงานแบบ Multiplex สำหรับ Address หรือ Data เพื่อลดขาสัญญาณบน PCI Slot

•เป็นระบบ Plug and Play คือมีระบบการจัดตั้งค่า Configuration ในทางฮาร์ดแวร์โดยอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องมี Jumper

•มีระบบ Write Posting และ Read Prefecthing คือมีการเตรียมการ อ่าน และ เขียนข้อมูลไว้ล่วงหน้า

•สามารถจัดตั้ง Configuration ได้ในทาง Software ซึ่งก็คือการ Setup ทาง Bios Setup

•เป็นระบบ Bus ที่ไม่ขึ้นกับ Processor ใดๆ

•สามารถทำงานแบบ Concurrent Bus PCI ได้ ซึ่ง PCI ที่ติดตั้งบน Slot ต่างๆ สามารถทำงานพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ได้

•ระบบ PCI Bus ประกอบด้วย Chipset ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่าง Processor กับ PCI Extension Slot

•PCI Bus มีระบบตรวจสอบความผิดพลาดและรายงานขณะส่งถ่ายข้อมูล

•อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาใช้งานกับ PCI Bus จะใช้เวลาในการเข้าถึง(Access ) ต่ำ

•ระบบ PCI Bus มี 2 แบบ คือแบบ 32 บิต ใช้ไฟ 3v และแบบ 64 บิต ใช้ไฟ 5v




















Motherboard


>>> สำหรับ Mainboard ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว Mainboard จะแบ่งออกเป็นตามรูปแบบชนิดของ CPU ที่ใช้งานดังนี้

-------->Socket 3 สำหรับ CPU 80486 Socket 5 สำหรับ CPU Pentium รุ่นแรก ๆ ที่ความเร็วประมาณ 60-100 MHz

-------->Socket 7 สำหรับ CPU Pentium Classic และ Pentium MMX รวมถึง IBM และ Cyrix ด้วย

-------->Super Socket 7 ที่จริงก็คือแบบเดียวกับ Socket 7 นั่นแหละ แต่สามารถทำงานที่บัส 100 MHz ได้ (Socket 7 เดิมจะทำงานสูงสุดที่ 66 MHz)

-------->Socket 370 สำหรับ CPU Celeron โดยเฉพาะ

-------->Slot 1 สำหรับ CPU Celeron รุ่นแรก ๆ และ Pentium II, Pentium III แต่จะมีอุปกรณ์ ตัวแปลง ที่เรียกว่า Slotket เพื่อให้ใช้ CPU แบบ Socket 370 หรือ FC-PGA ให้ใช้งานบน Mainboard แบบ Slot 1 ได้ด้วย

-------->Dual Slot คือจะมีทั้ง Socket 370 และ Slot 1 ทั้งคู่ซึ่งพอพบเห็นอยู่บ้าง

-------->Slot A สำหรับ CPU ของ AMD Athlon รุ่นแรก ๆ

-------->Socket A สำหรับ CPU ของ AMD Thunderbird และ Duron

>>>
นอกจากนี้ลักษณะของ Mainboard ยังมีการแบ่งตาม Case หรือระบบ Power Supply ด้วยโดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ AT กับ ATX โดยส่วนใหญ่แล้วหากเป็น Mainboard รุ่นใหม่ ๆ จะทำเป็นแบบ ATX เป็นส่วนมากซึ่งแบบ ATX นี้เท่าที่เคยได้ยินมาจะมีข้อดีกว่าแบบ AT ซึ่งเป็นแบบเก่าคือ ระบบการระบายความร้อนและการไหลเวียนของอากาศดีกว่า ระบบ Power Supply แบบใหม่สามารถสั่ง เปิด-ปิด เครื่องโดยใช้ Software ได้และอื่น ๆ อีกมากครับ อย่าลืมนะครับว่า Mainboard ของแบบ AT กับ ATX ไม่เหมือนกันและใส่ใน Case ต่างชนิดกันไม่ได้ ดังนั้นเวลาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ควรจะตรวจสอบให้ดีก่อนว่าเป็นแบบใด

>>> รูปตัวอย่าง Mainboard Mainboard ในปัจจุบันยังมีแบบที่เรียกว่า All in One ด้วยคือรวมเอา การ์ดจอ เสียง โมเด็ม พอร์ทต่าง ๆ USB LAN ฯลฯ รวมไว้บน Mainboard อันเดียวและขายในราคาที่เท่ากับหรือถูกกว่า Mainboard แบบเปล่า ๆ ซะอีก โดยทั่วไปแล้ว Mainboard แบบ All in One จะมีข้อดีคือ ราคาถูก ไม่ต้องหาซื้ออุปกรณ์อย่างอื่น สามารถใช้งานได้ครบ แต่ข้อเสียคือไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เพราะมันติดอยู่บนบอร์ดเลย (อาจจะเปลี่ยนได้นิด ๆ หน่อย ๆ ครับ) ข้อเสียอีกอย่างคือ จะกินแรงของ CPU และ RAM ของระบบเครื่องค่อนข้างมาก